Latest Post

Sunday, August 17, 2014

มุมหนึ่ง...ของวันแม่

|0 ความคิดเห็น


 
 
วันแม่ที่ทุกคนรอคอย.................รอลูกกลับมาหาแม่............ลูกรอที่จะแสดงความรัก ความกตัญญูต่อแม่........
 
วันหยุดของทุกองค์กร ทุกภาคส่วนจะจัดงานเพื่อให้ระลึกถึงพระคุณของแม่ แม่ผู้ให้ผู้ยิ่งใหญ่ แต่รู้สึกว่า แม่ไม่ได้เป็นผู้ให้อย่างเดียว แต่ที่เบียดบัง สร้างปัญหา เป็นภาระกับลูกมีไม่น้อย
วันแม่ที่ผ่านมาตามภาระ บทบาทของโรงเรียน ก็จัดให้ลูกได้แสดงความกตัญญู กราบแม่ในวันแม่
 
“ปีหน้าจะไปโรงเรียนอยู่หรือ วันแม่ก็ไม่มีแม่ไปร่วมงานจะไปทำไม”
 
เป็นคำพูดของเด็กชั้นประถม ๖ ของโรงเรียนบ้านนอกแห่งหนึ่ง และเด็กเริ่มไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะอายเพื่อนๆ อายครู ที่ไม่มีแม่ไปร่วมงานทั้งที่ไม่ใช่เด็กกำพร้า ดีนะการจัดงานวันแม่ เพื่อให้ลูก ๆ ได้กราบ แสดงความกตัญญู
 
แต่มองอีกมุมหนึ่ง จะเห็นว่าเด็กที่ขาดแม่ เด็กจากครอบครัวที่แตกแยกจะรู้สึกอย่างไร นี่โรงเรียนบ้านนอกนะ แต่โรงเรียนแถวหน้า โรงเรียนชั้นำในกรุงเทพเองก็ไม่แตกต่างกัน วันแม่จึงเป็นวันที่เด็กมีความทุกข์มากที่สุดที่ไม่มีแม่ เป็นวันที่เกิดทุกข์ใจที่ไม่มีแม่ไปร่วมงาน คิดช่วยกันหน่อยนะ จะได้มีทางออก ทางให้กับเด็กอีกจำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ในสภาพการณ์นี้ ว่าจะมีแนวทาง หนทางอย่างไรดี...........................
 
เรื่องโดย: เยาวมาลย์ งามสันติกุล นักสังคมสงเคราะห์
ภาพ : จากอินเตอร์เน็ต


 

Thursday, May 16, 2013

สถานการณ์เด็กถูกทอดทิ้ง

|0 ความคิดเห็น
สถานการณ์เด็กถูกทอดทิ้ง


จากสถานการณ์สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว จากการเลียนแบบสังคมวัตถุนิยม การแต่งกาย และจากภาวะวิกฤตทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของครอบครัว โดยปัจจุบครอบครัวเดี่ยวบิดามารดาต้องดูแลบุตรหลานของตนเอง โดยไม่มีปู่ ย่า ตา ยาย คอยค้ำจุนช่วยเหลือเหมือนในอดีต ดังนั้นเมื่อเกิดสภาพเศรษฐกิจบีบคั้น ทำให้รายได้ลดลงแต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมทางเพศของกลุ่มเยาวชน หรือวัยรุ่น ที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันที่ถูกต้อง ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงปรารถนาในกลุ่มวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำแท้ง ความไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร และปัญหาการทอดทิ้งเด็ก
 
ปัจจุบันจำนวนเด็กที่ถูกทอดทิ้งในที่สาธารณะตามข่าวหนังสือพิมพ์ และสื่อมวลชนต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า สถิติการคลอดบุตรของมารดาวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์มีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ ในปี 2552 ร้อยละ 13.55 ปี 2553 ร้อยละ 13.76 ปี 2554 ร้อยละ 14.32 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการนำไปสู่การทำแท้ง และการทอดทิ้งเด็ก และจากสถิติการรับเด็กเข้าอุปการะในสถานสงเคราะห์เด็กจากปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งมี (กระทรวงสาธารณสุข) จำนวน 1.157 คน และยังพบว่า สถิติเด็กทารกตามข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่ถูกทอดทิ้ง ปี 2548-2555 (อายุทารกเฉลี่ยระหว่าง 1-9 เดือน) มีจำนวนทั้งสิ้น 451 คน โดยจำแนกอายุมารดา พบว่า จำนวนมารดาอายุต่ำกว่า 15 ปี  ร้อยละ 1.30 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 15.10 จำนวนมารดาอยุสูงกว่า 20 ปี ร้อยละ 76.70 และไม่ทราบอายุมารดา ร้อยละ 6.90
 
จากสถานการณ์ดังกล่าว หากพบเห็นเด็กทารกแรกเกิดถึงหกเดือน หรือครอบครัวที่ไม่พร้อมเลี้ยงดูทารก รวมทั้งสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมและไม่พร้อมเลี้ยงลูก เพื่อเป็นการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กทารกที่ถูกทอดทิ้งให้ได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและเหมาะสม และเป็นการช่วยเหลือสตรีและครอบครัวที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมและไม่พร้อมเลี้ยงดูเด็กทารก สามารถขอรับบริการได้จากหน่วยงานกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ัจังหวัดได้ทุกจังหวัด
 
 
 
ภาพ: อินเตอร์เนต

Wednesday, April 3, 2013

พฤติกรรมวัยรุ่น “ท้อง แท้ง ทิ้ง”

|0 ความคิดเห็น


          สภาพสังคมที่ครอบครัวมีความใกล้ชิดกันน้อยลง และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ท่าให้เด็กสามารถเข้าถึงสื่อต่างๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น รวมถึงการยอมรับว่าการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องธรรมดา จากผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HIV ในประชากรกลุ่มนักเรียน พบว่า เด็กไทยมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ในปี 2554 เด็กเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกตอนอายุเฉลี่ย 12 ปีและส่วนใหญ่เป็นความสมัครใจ แต่กว่าร้อยละ 50 ไม่มีการปูองกัน โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนหญิงชั้น ม.2 พบว่า มีการใช้ถุงยางอนามัยในระดับต่ำและมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 50 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 48.9 ในปี 2553 และเหลือเพียงร้อยละ 44.9 ในปี 2554 ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กขาดความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย ขณะที่การเข้าถึงสื่อลามกสามารถท่าได้ง่ายผลักดันให้วัยรุ่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศมากขึ้น ขณะที่การเข้าถึงแหล่งความรู้เกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ยังมีน้อย ส่งผลให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรซึ่งจะน่าไปสู่การท่าแท้งและการทอดทิ้ง

          เด็กทารกเนื่องจากไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดู ซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2550-2554 มีค่าสูงกว่าร้อยละ 10 ซึ่งเป็นเกณฑ์เฝ้าระวังขององค์การอนามัยโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด ทั้งในกลุ่มแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี และแม่วัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี โดยในปี 2554 มีแม่อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 114,001 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 14.32 ของแม่ทุกอายุ แบ่งเป็นแม่อายุ 15-19 ปี จำนวน 110,325 คน และแม่วัยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 3,676 คน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่า มีแม่อายุน้อยที่สุด 8 ปี ในขณะที่พ่ออายุน้อยที่สุด 10 ปี

          การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมนับเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาที่จะตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

                    1. คุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นและเด็ก การตั้งครรภ์ในวัยเรียนท่าให้แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องออกจากโรงเรียนแม้ว่าเมื่อเดือนธันวาคม 2553 คณะรัฐมนตรีจะมีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ ซึ่งกำหนดให้สถานศึกษาที่มีหญิงตั้งครรภ์อยู่ระหว่างศึกษา ต้องอนุญาตให้หญิงมีครรภ์ศึกษาต่อในระหว่างตั้งครรภ์ หรือลาพักและกลับไปศึกษาต่อภายหลังคลอดบุตรแล้วได้ แต่เนื่องจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่มีการบังคับใช้ ท่าให้เด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ต้องออกจากระบบการศึกษา ด้วยเหตุผลว่าเป็นพฤติกรรมที่ท่าให้โรงเรียนเสื่อมเสียชื่อเสียง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ขาดโอกาสที่จะมีงานท่าที่มั่นคงเพื่อมีรายได้มาเลี้ยงดูตนเองและลูกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การตั้งครรภ์ของแม่วัยเด็กที่สรีระร่างกายยังไม่พร้อมที่จะมีลูก ส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีโอกาสที่จะพิการ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และมีพัฒนาการต่างๆ ช้ากว่าเด็กทั่วไปสูง และมักไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่เหมาะสมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ ท่าให้มีความเสี่ยงที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม และประสบปัญหาเช่นเดียวกับผู้เป็นแม่จนกลายเป็นวงจรของปัญหาที่ไม่สิ้นสุด

                   (2) การทาแท้ง จากข้อมูลการเฝ้าระวังการแท้งในประเทศไทย ปี 2554 โดยเก็บข้อมูลในสถานบริการสาธารณสุขทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ที่ท่าแท้ง ร้อยละ 56 มีอายต่ำกว่า 25 ปี โดยเป็นกลุ่มอายุ 15-19 ปีมากที่สุด ร้อยละ 30.4 กำลังศึกษาอยู่ และร้อยละ 45 ยังไม่มีรายได้ นอกจากนี้ ยังพบว่าในกลุ่มผู้ท่าแท้งอายุต่ำกว่า 19 ปี กว่า ร้อยละ 60 ไม่มีการคุมกำเนิด ซึ่งเป็นสาเหตุน่าไปสู่การตัดสินใจท่าแท้ง ทั้งนี้ ศูนย์สร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่นของโรงพยาบาลรามาธิบดีได้ประมาณการว่ามีวัยรุ่นท่าแท้งถึงปีละประมาณ 3 แสนคน ส่วนใหญ่เป็นการท่าแท้งที่ไม่ปลอดภัย โดยการซื้อยามารับประทานหรือสอดยาทางช่องคลอด และการใช้บริการคลินิกเถื่อน ท่าให้มีโอกาสที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต ขณะที่กฎหมายอนุญาตให้แพทย์ท่าแท้งได้เฉพาะกรณีเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตหรือสุขภาพของมารดา และในกรณีที่การตั้งครรภ์เกิดขึ้นจากการถูกข่มขืนหรือกระทำช้ำเราเท่านั้น ซึ่งเป็นข้อจ่ากัดอย่างหนึ่งที่ผลักดันให้วัยรุ่นตัดสินใจท่าแท้งที่ไม่ปลอดภัยหรือท่าแท้งเถื่อน

                   (3) การทอดทิ้งเด็ก จากรายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจ่าปี 2553 ของส่านักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน พบว่า ประเทศไทยมีเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้งถึง 88,730 คน ส่วนใหญ่เป็นการถูกทอดทิ้งตามโรงพยาบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก และที่สาธารณะ โดยมีสาเหตุจากแม่ที่อยู่ในวัยเรียนและแม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ สอดคล้องกับข้อมูลของสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไทที่ต้องรับเด็กที่ถูกทอดทิ้งเข้ามาเลี้ยงประมาณ 45 คนต่อเดือน โดยร้อยละ 80 ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคกลาง และอีกร้อยละ 20 รับตัวมาจากตำรวจหรือกลุ่มที่พ่อแม่ทิ้งไว้กับคนรับจ้างและสถานที่สาธารณะ ซึ่งเด็กที่ถูกทิ้งส่วนใหญ่เกิดจากแม่ที่เป็นวัยรุ่นโดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบ สาวโรงงานที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ และกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยาเสพติด การให้ความช่วยเหลือให้เด็กได้รับการพัฒนาตามวัยอย่างเหมาะสมทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา และการเข้าสังคม พร้อมทั้งส่งเสริมให้เด็กได้รับความรักความอบอุ่นที่แท้จริงจากครอบครัวทดแทนที่จะเข้ามาอุปการะเลี้ยงดู จะช่วยให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ และไม่เป็นภาระต่อสังคม

                   ส่าหรับแนวทางในการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่นเพื่อตัดวงจรการท่าแท้งและการทอดทิ้งเด็กนั้น ในระยะสั้น ควรให้ความสำคัญกับการปรับระบบการให้บริการในลักษณะครบวงจร (One Stop Service Center) ส่าหรับให้บริการและส่งต่ออย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบลเป็นหน่วยรับเหตุ ประสานแจ้งเหตุให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดในฐานะหน่วยประสานครบวงจรร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการปรึกษาทางเลือก ตัดสินทางเลือก และส่งต่อไปยังหน่วยงานต่างๆ ให้ด่าเนินการตามขั้นตอนและหน้าที่ความรับผิดชอบ และรายงานผลกลับไปยังศูนย์ครบวงจร เพื่อติดตามประเมินสถานะ ปรับเปลี่ยนการให้บริการและการปูองปรามไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ ส่าหรับ ในระยะยาว ต้องเน้นการปูองกัน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างครอบครัวอบอุ่น ปลูกฝังค่านิยมที่ดีตั้งแต่วัยเด็กเสริมสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศ และให้ความรู้แก่เด็กเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ เพศศึกษา ทักษะชีวิต การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิดขณะเดียวกัน สังคมต้องให้โอกาสเด็กกลุ่มนี้ได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้น่าไปประกอบอาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นนอกจากนี้ ควรเร่งผลักดันการบังคับใช้ พ.ร.บ.อนามัยการเจริญพันธุ์เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์และสุขภาวะทางเพศที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ
ที่มา: ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2555, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กุมภาพันธ์ 2556  
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก

|0 ความคิดเห็น


สภาวการณ์การศึกษาไทยในเวทีโลก บ่งบอกถึงความเร่งด่วนที่ไทยต้องปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการศึกษา เนื่องจากการศึกษาไทยถูกจัดอันดับอยู่ในตำแหน่งท้ายๆ ของเวทีโลก อาทิ ในระบบการศึกษา ไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศของเพียร์สัน เมื่อปลายปี 2555 ส่วน World Economic Forum ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 77 จาก 142 ประเทศ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้น ม.2 ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011 ต่ำกว่าในปี 2550 พบว่า ไทยมีผลคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 427 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 28 และวิชาวิทยาศาสตร์ 451 คะแนน อยู่ในอันดับที่ 25 ขณะที่ระดับอุดมศึกษา อันดับสถาบันอุดมศึกษาไทยยังเป็นรองประเทศในภูมิภาคเอเชีย แต่อันดับมหาวิทยาลัยไทยดีกว่าประเทศอาเซียนอื่นๆ เป็นรองแค่ประเทศสิงคโปร์ แม้ว่าจำนวนสถาบันอุดมศึกษาติด 30 อันดับแรกในภูมิภาคเอเชียจะลดลงเหลือ 2 แห่ง (ข้อมูล webometrics, กุมภาพันธ์ 2556) จาก 6 แห่ง (มกราคม 2555) ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับ 15 (อันดับโลก 169) และมหาวิทยาลัยมหิดล อันดับ 28 (อันดับโลก 246)
ที่มา : ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2555, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กุมภาพันธ์ 2556   

Monday, December 24, 2012

เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าพม่า และ 5 ล้านคนหายไปจากโรงเรียน

|0 ความคิดเห็น


เด็กไทยไอคิวต่ำกว่าพม่า และ 5 ล้านคนหายไปจากโรงเรียน
            ผลการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทยปี 2554 และการกระจายระดับสติปัญญารายภาค ปี 2555 ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งสำรวจจากเด็กนักเรียนระดับ ป.1-ม.3 ในโรงเรียนทุกสังกัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 72,780 คน เมื่อเดือนธันวาคม 2553-มกราคม 2554 ผลออกมา พบว่า เด็กนักเรียนไทยมีไอคิว หรือสติปัญญาเฉลี่ยอยู่ที่ 98.59 ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานกลางตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 100 และเมื่อเปรียบเทียบสติปัญญาเด็กไทย กับประเทศเพื่อนบ้าน พบว่า เด็กไทยมีค่าเฉลี่ยสติปัญญาต่ำกว่าเด็กประเทศพม่า แต่ถือว่าดีขึ้น เพราะผลการสำรวจปี 2549 เด็กไทยมีค่าสติปัญญาเฉลี่ยเท่ากับเด็กเขมร เท่านั้น
 
            ในขณะที่ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาทางวิชาการ สำนักงานส่งเสริมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้นำเสนอข้อมูลในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนเด็กไทย 5,752,500 คน หายไปจากโรงเรียน ทั้งๆ ที่กฎหมายรัฐธรรมนูญ บังคับให้รัฐต้องจัดการศึกษาภาคบังคับให้เด็กไทยอย่างทั่วไปเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ชั้นอนุบาล จำนวนเด็กไทย กว่า 5.7 ล้านคนที่หายไปจากโรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 10 ของคนไทยทั้งประเทศ (คิดตามจำนวนประชากรไทย 65 ล้านคน) หากคิดเทียบกับจำนวนเด็กไทยในระบบการศึกษาด้วยกันสัดส่วนร้อยละต้องเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า จำนวนเด็กไทยกว่า 5.7 ล้านคนหายไปจากโรงเรียน กลายเป็นผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา
 
            ผลการสำรวจ พบว่า จำนวนเด็กไทยที่หายไปจากโรงเรียน จำแนกได้  คือ (1) เด็กป่วยเป็นโรคออทิสติก จำนวน 1,700,000 คน (2) เด็กไร้สัญชาติ จำนวน 300,000 คน (3) เด็กที่เป็นลูกของแรงงานต่างด้าว จำนวน 250,000 คน (4) เด็กที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดาร จำนวน 160,000 คน (5) เด็กที่เป็นแม่วัยใสที่ท้องและมีลูกตั้งแต่เด็ก จำนวน 100,000 คน (6) เด็กกำพร้า ที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้ง จำนวน 88,730 คน (7) เด็กที่ติดเชื้อเอสด์ไปจากพ่อแม่ จำนวน 50,000 คน (8) เด็กที่ก่ออาชญากรรมถูกดำเนินคดี จำนวน 50,000 คน (9) เด็กเร่ร่อยไร้ที่อยู่อาศัย จำนวน 30,000 คน (10) เด็กที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณี จำนวน 25,000 คน (11) เด็กที่ถูกบังคับให้ใช้แรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 10,000 คน และ (12) เด็กติดยาเสพติด จำนวน 10,000 คน 
 
           ในขณะที่ข้อมูลการนำเสนอของสภาการศึกษา ผลการสำรวจปี พ.ศ. 2540-2551 พบว่า จำนวนเด็กไทยหลุดจากระบบการศึกษาก่อนจบชั้นมัธยม 3 ร้อยละ 20 และออกจากโรงเรียนก่อนจบชั้นมัธยม 6 ร้อยละ 30 เหลือจำนวนเด็กไทยสอบเข้ามหาวิทยาลัยเพียงร้อยละ 35 เท่านั้น โดยที่มีเพียง 1 ใน 3 (ของร้อยละ 35) เท่านั้นที่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย แล้วอนาคนของเด็กไทย คนรุ่นใหม่ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร....

(ข้อมูล: ไทยรัฐออนไลน์, ฉบับ 1กันยายน 255 ; http://www.thairath.co.th/column/pol/thai_remark/287631, ภาพ: อินเตอรเน็ต)

Tuesday, September 4, 2012

สถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ประเทศไทย 2012

|0 ความคิดเห็น

 
            สถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ประเทศไทย จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาสสองปี 2555 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 ด้านสถานการณ์การค้ามนุษย์ พบว่า ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ต้องจับตามองด้านการค้ามนุษย์ (Tier 2 Watch List) เป็นปีที่ 3 ปัญหาการค้ามนุษย์ส่วนใหญ่ภายในภูมิภาค และที่พบได้ตามแนวชายขอบลุ่มแม่น้ำโขง และมีความเกี่ยวโยงถึงประเทศไทย ส่งผลให้ไทยถูกสหรัฐอเมริกาลดระดับให้เป็นประเทศไทย เป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย
(ที่มา: ข่าวเศรษฐกิจและสังคม สายพัฒนาสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; http://social.nesdb.go.th)

Monday, September 3, 2012

แนวโน้มเด็กเยาวชนไทยติดเหล้าบุหรี่เพิ่มมากขึ้น

|0 ความคิดเห็น
 
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ได้รายงานความเคลื่อนไหวทางสังคมในช่วงไตรมาสสองปี ๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๕ ในด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคนในสังคม พบว่า เยาวชนกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มมากกว่าปีละ ๒๕๐,๐๐๐ คน และคนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปสูบบุหรี่เกือบ ๑๕ ล้านคน จากข้อมูลการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ระดับโลก ในปี ๒๕๕๒ ปละปี ๒๕๕๔ พบว่า คนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นจาก ๑๔.๓ ล้านคน เป็น ๑๔.๖ ล้านคน และเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ ๑๔.๘๐ ขณะที่ข้อมูลศูนย์วิจัยสุราในปี ๒๕๕๔ พบว่า คนไทยอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป ดื่มแอลลกอฮอร์มากถึง ๑๗ ล้านคน โดยที่เยาวชนกลายเป็นนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่าปีละ ๒๕๐,๐๐๐ คน ดังนั้น พฤติกรรมเสี่ยงการสูบบุหรี่ และการอื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอร์ฮอร์ (เหล้า) ควรมีการเฝ้าระวังในกลุ่มเด็กและเยาวชนต่อไป. (ที่มา
: ข่าวเศรษฐกิจและสังคม สายพัฒนาสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; http:social.nesdb.go.th; ภาพจากอินเตอรเน็ต)

Wednesday, June 6, 2012

สถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

|0 ความคิดเห็น

รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคมในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ปี พ.ศ. 2555

ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย การประชุมเชิงปฏิบัติการบูรณาการแผนพัฒนาสังคมและสวัสดิการระดับกลุ่มจังหวัด วันที่ 5 มิถุนายน 2555 ณ โรงแรมเชียงใหม่ ฮิลล์ จังหวัดเชียงใหม่

เอกสารรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ทางสังคมฯ 2555

Friday, April 20, 2012

สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2554

|0 ความคิดเห็น
สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ของประเทศไทย ปี 2554
            จากรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ ของประเทศไทย ในปี 2554 สำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2555  พบว่าจากผลการจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,279 ชุด ใน 4 ภาค 14 จังหวัด สำหรับจัดทำรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ ปี 2554 พบว่า
            ๑. มิติที่อยู่อาศัย คือ การที่บุคคลมีความ สามารถพึ่งตนเองได้ในเรื่องที่อยู่อาศัย มีที่อยู่อาศัยเป็น หลักแหล่ง แน่นอน ที่อยู่อาศัยมีความมั่นคงแข็งแรง อยู่ในระดับ ร้อยละ 94.1 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 96.0)
             ๒. มิติสุขภาพ หมายถึง การที่บุคคลมีสุขภาพ กายใจแข็งแรง ไม่มีโรคร้ายแรง หรือโรคเรื้อรังเบียดเบียน มีความรู้ พื้นฐานในการดูแลสุขภาพ และมีพฤติกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้แข็งแรงอยู่ ตลอดเวลา อยู่ในระดับร้อยละ 83.1 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 83.9)

             ๓. มิติอาหาร หมายถึง การที่บุคคลมีความพอประมาณความรู้ในการบริโภค มีคุณธรรมในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย อยู่ในระดับร้อยละ 94.7 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 96.2)
            ๔. มิติการศึกษา หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้จากการศึกษา ได้รับโอกาสในการศึกษาต่อเนื่องในระดับที่สูงขึ้น ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน  อยู่ในระดับร้อยละ 85.0 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 88.6)
            ๕. มิติการมีงานทำและมีรายได้ หมายถึง การที่บุคคลมีความรู้ ความสามารถในอาชีพการงาน รู้จักใช้จ่ายอย่างพอประมาณ มีการเก็บออมและไม่มีปัญหา หนี้สิน รวมทั้งมีความสุขกับงานที่ทำ อยู่ในระดับร้อยละ 64.8 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 76.2)

            ๖. มิติครอบครัว หมายถึง การที่บุคคลสามารถทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม มีการทำกิจกรรมส่งเสริมให้ครอบครัวเข้มแข็ง อยู่ในระดับร้อยละ 78.9 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 87.8)
            ๗. มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม หมายถึง การที่บุคคลมีคุณธรรม เสียสละทำความดีเพื่อส่วนรวม มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน มีพลังอำนาจในการต่อรองกับภายนอก อยู่ในระดับร้อยละ 46.2 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 77.7)
            ๘. มิติศาสนาและวัฒนธรรม หมายถึง การที่บุคคลมีการปฏิบัติตามคำสั่งสอนในศาสนาที่ตนเอง ยึดถือ มีการปกป้องรักษา ประเพณีวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ ที่ตนเองคงอยู่ อยู่ในระดับร้อยละ 78.5 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 83.4)
            ๙. มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน หมายถึง การที่บุคคลมีความ ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่มีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติอยู่ในระดับร้อยละ 82.3 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 78.3)
           ๑๐. มิติสิทธิและความเป็นธรรม หมายถึง การที่บุคคลมีการปฏิบัติ ต่อกันอย่างเสมอภาค มีความรู้ที่จะรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง อยู่ในระดับร้อยละ 94.2 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 93.7)
           ๑๑. มิติการเมือง หมายถึง การที่บุคคลมีเหตุผลในการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง และมีจิตสาธารณะ ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวม อยู่ในระดับร้อยละ 50.1 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 55.3)
          ๑๒. มิติสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร พลังงาน หมายถึง การที่บุคคลมีที่อยู่อาศัย ที่ทำงานที่ปลอดมลภาวะ มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด รู้ถึงคุณค่า และเข้าร่วมในกิจกรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อ ม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน อยู่ในระดับร้อยละ 84.4 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 85.9)
           ๑๓. ความมั่นคงของมนุษย์โดยรวมของประเทศไทยปี 2554  อยู่ในระดับร้อยละ 78.0 (เกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 81.9)
            สรุปผลการศึกษาในปี 2554 พบว่า สถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 78.0 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่มีค่าเท่ากับร้อยละ 81.9  และความมั่นคงของมนุษย์เป็นรายมิติ พบว่า มีความมั่นคงของมนุษย์ 5 มิติ ที่มีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1) มิติการมีงานทำและมีรายได้ 2) มิติครอบครัว 3) มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม 4)มิติศาสนาและวัฒนธรรม และ 5) มิติการเมือง
ส่วนความมั่นคงของมนุษย์ อีก 7 มิติ พบว่า มีค่าได้มาตรฐานหรือใกล้เคียงกับค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1) มิติสุขภาพ 2)มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3) มิติสิทธิความเป็นธรรม 4) มิติการศึกษา 5) มิติที่อยู่อาศัย 6) มิติอาหาร และ 7) มิติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรพลังงาน


Saturday, January 14, 2012

โพลวันเด็ก ปี 55 อยากให้ผู้ใหญ่ปรองดอง-ซื่อสัตย์ บอกอยากได้คอมพ์-ไอแพด

|0 ความคิดเห็น

กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจความเห็นวันเด็กปี 55 ระบุนึกถึงคำขวัญมากสุด พร้อมได้เที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ฟรี ทั้งยืนยันกว่าร้อยละ 37 ทำตามคำขวัญนายกฯ ที่ให้สามัคคีได้มากสุด ทั้งอยากให้ผู้ใหญ่สามัคคีปรองดองด้วย ระบุอยากได้คอมพิวเตอร์-ไอแพด เป็นของขวัญจากนายกฯ
วันนี้ (13 ม.ค.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือ กรุงเทพโพลล์ เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “เรื่องของเด็กๆ กับวันเด็กปี 55” จากกลุ่มตัวอย่างเด็กที่มีอายุ 6-14 ปี ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,200 คน เมื่อวันที่ 10-12 มกราคมที่ผ่านมา พบว่า เรื่องที่เด็กๆ นึกถึงมากที่สุดเมื่อถึงวันเด็ก คือ คำขวัญวันเด็ก ร้อยละ 39.9 รองลงมาคือ การได้เข้าไปเที่ยวสวนสัตว์ฟรี ร้อยละ 24.3 และการได้เข้าชม สัมผัส อาวุธยุทโธปกรณ์แบบต่างๆ ที่ใช้ในกองทัพไทย (เช่น เครื่องบิน รถถัง เรือรบ ปืนใหญ่ เป็นต้น) ร้อยละ 11.7

สำหรับอาชีพที่เด็กใฝ่ฝันอยากจะเป็นมากที่สุดเมื่อโตขึ้น คือ อาชีพหมอ/แพทย์ ร้อยละ 15.4 รองลงมาคือ ตำรวจ ร้อยละ 14.1 และคุณครู ร้อยละ 14.0 ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.4 เท่านั้น ที่ระบุว่าอยากเป็นนักการเมือง

เมื่อถามถึงคุณสมบัติของคนดีในความคิดของเด็กๆ พบว่า ร้อยละ 38.4 ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต รองลงมาร้อยละ 36.2 ต้องเป็นคนใจดี มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และร้อยละ 13.9 ต้องมีความขยันอดทน

ในส่วนคำขวัญวันเด็กในปีนี้ของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ว่า “สามัคคี มีความรู้คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี” นั้น เด็กๆ ส่วนใหญ่ระบุว่าคำที่ตนเองสามารถทำได้มากที่สุดคือ คำว่า “สามัคคี” ร้อยละ 37.0 รองลงมาคือ คำว่า “คงรักษาความเป็นไทย” ร้อยละ 24.0 คำว่า “มีความรู้คู่ปัญญา” ร้อยละ 21.0 และ คำว่า “ใส่ใจเทคโนโลยี” ร้อยละ 16.6 ตามลำดับ ในขณะที่ร้อยละ 1.4 ระบุว่าไม่สามารถทำได้เลยสักข้อ

เมื่อถามถึงของขวัญวันเด็กที่อยากได้จากนายกรัฐมนตรีมากที่สุด เด็กๆ ระบุว่าอยากได้ คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ก มาเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 17.9) รองลงมาคือ ไอแพด/แท็บเล็ต (ร้อยละ 17.8) และโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เช่น บีบี และ ไอโฟน (ร้อยละ 12.5)

สำหรับเรื่องที่เด็กๆ อยากบอกผู้ใหญ่ในสังคมมากที่สุด คือ ให้มีความรักใคร่สามัคคีปรองดอง ร้อยละ 28.7 รองลงมาคือ ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่คดโกง ร้อยละ 22.8 และให้ทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีของเด็ก ร้อยละ 9.8

ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์

Wednesday, December 21, 2011

แนวโน้มสังคมไทยสังคมโลก 2012

|0 ความคิดเห็น

แนวโน้มสังคมไทยสังคมโลก 2012

                จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสังคมโลก พบว่า กฎ กติกา ใหม่ของโลกหลายด้านส่งผลให้ทุกประเทศในโลกต้องปรับตัว โดยเฉพาะกฎระเบียบด้านสังคม โดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษย์ชนที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดความเคารพ และรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน การปรับตัวการเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกแบบหลายศูนย์กลาง รวมทั้งภูมิภาคเอเชียทวีความสำคัญมากขึ้น เช่น การร่วมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น อินเดีย และประชาคมอาเซียน ในปี 2558 รวมทั้งกรอบความร่วมมืออื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ระรองรับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโลก จะมีรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ทำให้งบประมาณสำหรับการลงทุนพัฒนาด้านอื่นๆ ลดลง การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก การเกิดสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อภาคสังคม เช่น ปัญหาความยากจน การอพยพย้ายถิ่น การแย่งชิงทรัพยากร ในขณะที่ความมั่นคงทางอาหารและพลังงานโลกมีแนวโน้มจะเป็นปัญหาสำคัญ อันจะส่งผลให้การผลิตอาหารสู่ตลาดลดลงไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาคมโลก อาจนำไปสู่ภาวะวิกฤตด้านอาหารได้ รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามในการพัฒนา และภัยการก่อการร้ายถือเป็นภัยคุมคามประชาคมโลก



            สถานการณ์สังคมไทยพบว่า การเปลี่ยนแปลงภายในประเทศด้านเศรษฐกิจ มีความอ่อนแอลง จากการเกิดภัยพิบัติอุทกภัยที่ผ่านส่งผลทำให้การเติมโตทางเศรษฐกิจลดลง เกิดการเลิกจ้างงาน การว่างงาน รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานถูกทำลายต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงด้วยงบประมาณมหาศาล ประกอบกับปัจจัยสนับสนุนในส่วนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณภาพบริการของโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม กฎหมาย ระเบียบทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสม กับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้น แต่ยังมีกลุ่มผู้ด้อยโอกาสยังเข้าไม่ถึงบริการทางสังคม และจากสถานการณ์สังคมเกิดวิกฤตความเสื่อมถอยทางคุณธรรม จริยธรรม ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด และการพนันโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น ร่วมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ความไม่สงบสุขตามแนวชายแดนภาคใต้ และปัญหาแนวชายแดนเพื่อนบ้าน อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมไทยต่อการดำรงชีวิตของประชาชน และความเชื่อมั่นของนานาประเทศ และความสงบสุขที่มีแนวโน้มจะลดลง

            ในขณะที่สถานการณ์การพัฒนาสังคม พบว่า จากสภาวะทางเศรษฐกิจที่บีบคั้น ทำให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอ พ่อแม่อยู่กับลูกน้อยลง ครอบครัวขาดความตระหนักในบทบาท เกิดความแตกแยกนำไปสู่การหย่าร้างเพิ่มมากขึ้น เด็กและผู้หญิงตกเป็นเหยื่อผู้ถูกกระทำความรุนแรงจากคนใกล้ชิด ส่งผลให้เด็กและเยาวชนบางส่วนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น เสพยาเสพติด ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทะเลาะวิวาท ติดเกมส์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ เกิดปัญหาเด็กเร่ร่อน ขาดโอกาสทางการศึกษามีมากขึ้นในสังคมไทย ในขณะที่ค่านิยมของคนในสังคมเน้นการบริโภคนิยคม วัตถุนิยม ทำให้เด็กเกิดภาวะโภชนาการเกิน เป็นเหตุแห่งโรคอ้วน โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรังอื่นๆ นำไปสู่ความพิการได้ง่าย ประกอบกับสังคมผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการดูแล ช่วยเหลือในขณะที่แรงงานต่างด้าวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ทวีความรุนแรง รวมทั้งผู้พ้นโทษหันกลับไปทำผิดซ้ำมากขึ้น และผลจากการพัฒนาสู่ความทันสมัยที่ผ่านมา พบว่า เกิดการโยกย้ายถิ่นฐานจากชนบทสู่เมือง ทำให้คนเหล่านี้ตกอยู่ในภาวะความเสี่ยง เปราะบางในการเข้าสู่ปัญหาความยากจนสูงขึ้น



            สรุปภาพโดยรวมแนวโน้มอนาคตสังคมไทย 2012 กล่าวได้ว่า โครงสร้างครอบครัวทั้งในเมืองและชนบท เกิดครอบครัวเดี่ยวและมีขนาดที่เล็กลง สัมพันธภาพของคนในครอบครัวน้อยลง เกิดภาวะความเครียด ซึมเศร้า ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ มีแม่เลี้ยงเดี่ยวมากขึ้นจากปัญหาการหย่าร้างที่สูงขึ้น และมีแนวโน้มที่ครอบครัวจะมีผู้สูงอายุกับเด็กมากขึ้น และเป็นภาระของผู้สูงอายุที่ต้องเลี้ยงดูเด็กมากขึ้นเช่นกัน รวมทั้งจากสถานการณ์จากภัยพิบัติต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาการเงินในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย และการทำมาหากิน ภาวการณ์ถูกเลิกจ้าง ว่างงาน อีกมากมาย ทางออกทางแก้ในการให้การช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไทย จะมีทิศทางแนวโน้มเช่นไร คงต้องฝากไว้ที่ฝีมือรัฐบาลไทยในยุคที่มีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย และคนไทยทุกคน ทุกภาคล่วนจะได้ร่วมมือหันหน้าปรึกษาหารทางออกทางแก้ไปด้วยกันต่อไป.

Monday, December 19, 2011

สถานการณ์เด็กเยาวชนกับการค้าบริการทางเพศ

|0 ความคิดเห็น

สถานการณ์เด็กและเยาวชน (หญิง) กับการค้าบริการทางเพศ
จากรายงานข่าว หนังสือพิมพ์ข่าวสด (อ้างอิง กระปุกดอทคอม: http://hilight.kapook.com/view/65702) พาดหัวข่าว “เจ้าหน้าที่รวบนักเรียนสาว 3 คนและเพื่อนกะเทย ดอดเข้ากรุงวันเสาร์-อาทิตย์ นัดแนะขายบริการลูกค้าผ่านทางเน็ต เพื่อหาค่าเทอม” โดยมีรายละเอียดข่าวสรุปได้ดังนี้

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการสวัสดิภาพเด็กและสตรี (กก.สด.) แถลงข่าวร่วมกันจับกุมกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 17-19 ปี ค้าบริการทางเพศผ่านเว็บไซต์จำนวน 6 ราย โดยจับได้ที่ห้องเช่าเพอร์เฟ็ค รีสอร์ท ย่านลาดพร้าว กทม. สำหรับการติดตามจับกุมครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อช่วงเย็นวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา นางแอ๋ม (นามสมมติ) อายุ 45 ปี ชาวบ้านใน อ.เมือง จ.นครราชสีมา เข้าร้องทุกข์กับเจ้าหน้าที่ว่า น.ส. แอน (นามสมมติ) อายุ 18 ปี ลูกสาวหายตัวไปนับเดือน เกรงว่าจะถูกล่อลวง เนื่องจากได้ทราบข้อมูลจากเพื่อนของลูกๆ อีกทั้งยังพบประกาศขายบริการทางเพศในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง หลังรับทราบข้อมูลจึงจัดชุดเข้าสืบสวนหาเบาะแส จนกระทั่งทราบว่ากลุ่มเด็กนักเรียนสาวได้รวมตัวมาเปิดห้องพักอยู่ที่ห้องเช่าดังกล่าว จึงเดินทางไปเชิญตัวมาสอบสวนทั้งหมด ผลจากการสอบสวนทั้งหมดได้ให้การรับสารภาพว่า ที่ขึ้นมายังกรุงเทพฯ เพื่อต้องการหาเงินเป็นทุนการศึกษา เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว ส่วนเพื่อนผู้ชายทั้งหมดที่ถูกจับกุมเป็นกะเทยทำหน้าที่ช่วยโพสต์ลงเว็บไซต์ขายบริการทางเพศแห่งหนึ่ง เนื่องจากมีความชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ โดยจะพากันขึ้นมาในช่วงวันหยุดคือวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ และจะกลับไปเรียนหนังสือต่อ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเพื่อนๆ ที่ทราบเรื่องจะผลัดกันขึ้นมาขายบริการดังกล่าว ซึ่งการขายบริการแต่ละครั้งจะอยู่ที่ ราคา 1,500 บาท โดยไม่มีหักค่าใช้จ่ายกับใคร และการรายงานข่าวในทำนองเดี่ยวกันนี้มียังอีกมายมายในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ศูนย์สวัสดิภาพเด็กสตรีและเยาวชน บช.น.” รวบ “3 นศ.สาว ม.เอกชนชื่อดัง” ขายตัวทาง Hi5 ยอมรับหมดเปลือกหลงผิด ใช้เงินฟุ่มเฟือย หาเงินจ่ายค่าเทอม “ผกก.ศดส.นครบาล” สั่งขยายผลจับเอเยนต์ทั่วกรุงยั่วยุชักจูงวัยรุ่นสาวค้ากาม ชี้ผิดกฎหมาย เตือน “ผู้ปกครอง” หาเวลาดูแลใส่ใจบุตรหลาน (ทีมา: ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต) เป็นต้น


จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น มีความสอดคล้องกับผลการสำรวจข้อมูลและรายงานผลสถิติตัวบ่งชี้สภาวการณ์เด็กและเยาวชน (Child Watch) อ้างอิง ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (เอกสารประมวลผลสถิตด้านสังคม 1/2553) จากรายงานดังกล่าว ด้านตัวบ่งชี้ด้านภาวะสังคมภาพรวมระดับประเทศ พบว่า
(1) ร้อยละเด็กมัธยมต้นที่เที่ยวตอนกลางคืนเป็นประจำ 5.38 ร้อยละเด็กมัธยมปลายที่เที่ยวตอนกลางคืนเป็นประจำ 6.91 ร้อยละเด็กอาชีวะที่เที่ยวตอนกลางคืนเป็นประจำ 9.57 ร้อยละเด็กอุดมศึกษาที่เที่ยวตอนกลางคืนเป็นประจำ 9.52  (2) ร้อยละของเด็กที่ดูสื่อโป๊ (การ์ตูนโป๊ วีซีดีโป๊ คลิปโป๊ เว็ปโป๊) เป็นครั้งคราวถึงประจำนะดับต่างๆ พบว่า ในเด็กระดับประถม ร้อยละ 6.83 ระดับมัธยมต้น ร้อยละ 24.33 ระดับมัธยมปลาย ร้อยละ 30.79 ระดับอาชีวะ ร้อยละ 39.74 และระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 38.62 และ (3) ร้อยละของเด็กที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์ในแต่ละระดับการศึกษา พบว่า ระดับมัธยมต้น ร้อยละ 9.47 ระดับมัธยมปลาย ร้อยละ 16.75 ระดับอาชีวะ ร้อยละ 34.69 และระดับอุดมศึกษา ร้อยละ 37.25


จากรายงานและสถานการณ์ดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า เด็กและเยาวชนในปัจจุบัน มีแนวโน้มในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระดับการศึกษา และมีทัศนคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ถือเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิตในการศึกษา โดยไม่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว (พ่อ แม่ ผู้อุปการะ) และสังคมอันดีงาม และมีแนวโน้มการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ซึ่งเกิดจากการบริโภคที่เกินตัว อันนำไปสู่การหาเงินมาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเกินตัว โดยมีสื่อต่างๆ เป็นสิ่งเร้า ยั่วยุ ให้เด็กและเยาวชนเข้าสู่ระบบการบริโภคเกินตัว  เกินจำเป็น และนำไปสู่การขายบริการทางเพศ ทั้งในนักเรียนหญิง ที่ตกเป็นข่าว รวมทั้งนักเรียนชายที่เป็นข่าวบ้างแม้ว่าจะน้อยกว่าในสื่อต่างๆ อาจสรุปได้ว่า พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชน ควรที่จะหันมาร่วมมือกันให้ความสำคัญ พัฒนาเด็กและเยาวชนไทย ให้เป็นเด็กดีมีคุณภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคมต่อไป

ที่มา: กระปุกดอทคอม: http://hilight.kapook.com/view/65702)
และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ( www.m-society.go.th
ภาพ: จากอินเตอร์เน็ต

Thursday, December 8, 2011

โพลหนุนสังคมให้อภัยร่วมถวายในหลวง

|0 ความคิดเห็น

สวนดุสิตโพล เผยว่า คนไทยซาบซึ้งพระมหากรุณาธิคุณเรื่องการพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากที่สุด ขณะที่เอแบคโพล เผย วันพ่อแห่งชาติ ประชาชนอยากให้คนไทยรักกัน
ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง บทบาทของพ่อและนโยบายสาธารณะด้านครอบครัวกับกลุ่มบุคคลที่ต้องปรับปรุงตัวเป็นคนดีของสังคมไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมา 5 อันดับแรกของบทบาทสำคัญที่ลูกและคนในครอบครัวอยากให้ผู้เป็นพ่อปฏิบัติ พบว่า ระบุว่าคุณพ่อต้องพร้อมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกและคนในครอบครัวมากที่สุด (ร้อยละ 84) รองลงมาระบุว่าพูดคุยและให้กำลังใจลูกและคนในครอบครัวเมื่อเกิดปัญหาขึ้น (ร้อยละ 83) ระบุเป็นที่ปรึกษาที่ดีของลูกและคนในครอบครัวในทุกเรื่อง (ร้อยละ 77)  ระบุ เคารพต่อการตัดสินใจของคนในครอบครัว (ร้อยละ 75) และ ระบุ พร้อมและเป็นผู้ฟังที่ดีของลูกและคนในครอบครัว (ร้อยละ 75) ตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลกับกลุ่มผู้เป็นแม่และลูกของครอบครัวที่มีปัญหา สิ่งที่อยากให้ผู้เป็นพ่อแก้ไขปรับปรุงตัวใน 5 อันดับแรก พบว่า การละเลิกการดื่มเหล้า และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดมากที่สุด (ร้อยละ 90) รองลงมาการขอให้เลิกสูบบุหรี่ เลิกสิ่งเสพติด (ร้อยละ 58)  ขอให้เลิกพฤติกรรมรุนแรง ตบตี ดุด่าคนในครอบครัว (ร้อยละ 54) การขอให้เลิกเจ้าชู้ นอกใจภรรยา เลิกมีกิ๊ก (ร้อยละ 53) และการขอให้เลิกเป็นคนขี้เกียจ ไม่ยอมทำงาน (ร้อยละ 44) ตามลำดับ
ในประเด็นคำถามถึงสิ่งที่อยากให้คนไทยทำให้แก่กันและกันเพื่อถวายแด่ในหลวง เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ พบว่า อันดับแรก (ร้อยละ 88) ระบุอยากให้คนไทยรักกัน อันดับที่สอง ร้อยละ (82) อยากให้คนไทยมีน้ำใจต่อกัน อันดับที่สาม (ร้อยละ 79) อยากให้คนไทยให้อภัยต่อกัน อันดับที่สี่ (ร้อยละ 77) อยากให้คนไทยเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว อันดับที่ห้า (ร้อยละ 76) อยากให้คนไทยช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน และรองๆ ลงไป ได้แก่ ความซื่อสัตย์สุจริต เสียสละ กตัญญูต่อแผ่นดิน ยึดมั่นในความถูกต้อง และยิ้มให้แก่กันและกัน ตามลำดับ

โดยที่สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ ในหัวข้อ วันพ่อแห่งชาติ จากการสอบถามความคิดเห็นของคนไทยทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 2,178 คน ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2554 สรุปผลได้ดังนี้
พระมหากรุณาธิคุณที่ยิ่งใหญ่ที่ประชาชนรู้สึกซาบซึ้ง ประทับใจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบว่า การพระราชทานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนชาวไทยนำไปปฏิบัติมากที่สุด (ร้อยละ 60) รองลงมาการพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ ถุงยังชีพ ส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อาสาช่วยเหลือราษฎร (ร้อยละ 21) และการพระราชทานแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการน้ำและการเกษตร/โครงการฝนหลวง สร้างเขื่อนและโครงการแก้มลิง (ร้อยละ 19)

ผลการสำรวจสิ่งที่ประชาชน อยากทำเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันที่ 5 ธันวา พบว่า การปฏิบัติตนเป็นคนดี ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง บำเพ็ญประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม มากที่สุด (ร้อยละ 78) รอลงมาเป็นการปฏิบัติธรรม สวดมนต์ ไหว้พระ ขอพรให้พระองค์ท่านทรงพระเจริญ (ร้อยละ 12) และการเป็นผู้เล่า บอกต่อถึงพระราชกรณียกิจ พระราชจริยวัตรของพระองค์ท่านให้คนรุ่นหลังหรือชาวต่างชาติรับรู้ (ร้อยละ 10) ตามลำดับ


ในขณะที่กิจกรรมที่ประชาชน อยากจะเข้าร่วมเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวันที่ 5 ธันวา พบว่า ต้องเข้าร่วมการจุดเทียนชัยถวายพระพร ร่วมร้องเพลงถวายพระพร มากที่สุด (ร้อยละ 61) รอลงมาเป็นการบริจาคโลหิต บริจาคทรัพย์สิน สิ่งของ เงินทอง ให้กับมูลนิธิต่างๆ ของพระองค์ท่าน (ร้อยละ 23) และการร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนจัดขึ้น เช่น ทำบุญตักบาตร เดิน-วิ่งการกุศล ปลูกป่า ฯลฯ (ร้อยละ 16) ตามลำดับ

ประเด็นคำถามเรื่องที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่สบายพระทัย และอยากให้ทุกฝ่ายปรับปรุงแก้ไข ผลการสำรวจ พบว่า ความไม่สามัคคี การทะเลาะเบาะแว้งของคนไทย มากที่สุด (ร้อยละ73)  และเสนอวิธีแก้ไข คือ ให้ใจเย็น มีสติ ถอยคนละก้าว นึกถึงความเป็นคนไทยและเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองฯลฯ รองลงมาการบริหารจัดการเรื่องน้ำท่วม (ร้อยละ 11) ไดระบุวิธีแก้ไข โดยขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือร่วมใจ ตั้งใจทำงานเพื่อบ้านเมืองเป็นสำคัญ การวางแผนในระยะยาวฯลฯ การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 10) ระบุวิธีแก้ไข คือ มีกฎหมายที่เข้มงวด จนท.เคร่งครัด การรณรงค์ ปลูกฝังให้ทุกคนมีจิตสำนึกและช่วยกันดูแลรักษาฯลฯ และการโกงกิน ทุจริต คอรัปชั่น (ร้อยละ 6) โดยได้ระบุวิธีแก้ไข คือให้มีบทลงโทษที่เด็ดขาด ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่วัยเยาว์ ยึดหลักพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฯลฯ

ผลการสำรวจต่อประเด็นคำถาม กรณี วันพ่อของลูกๆ ทุกคน ลูกๆอยากจะทำอะไรให้พ่อ ผลการสำรวจพบว่า อยากให้พ่อปฏิบัติตัวเป็นลูกที่ดี กตัญญู มากที่สุด (ร้อยละ 59) รองลงมา การพาไปเที่ยว ทานข้าวด้วยกันในครอบครัว (ร้อยละ 21) การซื้อของขวัญ หรือของที่พ่ออยากได้ ให้เงิน (ร้อยละ 15) และการกลับบ้านมาไหว้พ่อ (ร้อยละ 6) ตามลำดับ

และต่อประเด็นคำถามในสิ่งที่ลูกเป็นห่วงหรืออยากขอร้องให้พ่อเลิก ผลการสำรวจ พบว่า เป็นห่วงอยากให้เลิกเรื่องสุขภาพ สิ่งที่บั่นทอนสุขภาพ มากที่สุด (ร้อยละ 54) รองลงมาการทำงานหนัก ขาดการพักผ่อน (ร้อยละ 21) การเลิกเหล้า บุหรี่ อบายมุขต่างๆ (ร้อยละ 17) และอยากให้เลิกการมีอารมณ์ร้อน หงุดหงิด ขี้โมโห คิดมาก ใจน้อย (ร้อยละ 8) ตามลำดับ
 

สรุปได้ว่าลูกส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทางเดียวกันว่ารักและเป็นห่วงพ่อ อยากให้พ่อเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่กินเหล้า สูบบุหรี่ ให้รักษาสุขภาพให้ดี และเป็นพ่อที่อารมณ์ดีไม่หงุดหงิดขี้โมโห

ที่มา: สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และเอแบคโพล ภาพ: อินเตอร์เน็ต